วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นี่แหล่ะบุญ

"บุญเป็นอย่างนี้ ลักษณะของบุญคือใจเราดี,มีความสุข, มีความสบาย เย็นอกเย็นใจ, ไม่ทุกข์ไม่ร้อน วุ่นวาย นี่แหล่ะบุญ มีหรือยัง" หลวงปู่ฝั้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คืออะไร

เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา


"ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวท
ุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์นี่แหละจะทำให้เราฉลาด
ขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท

กิเลสสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้
ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับ...
ทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้อ
งรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คือ
อะไร
http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=345726152179431&set=a.117458295006219.29726.100002261469079&type=1&theater

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (บาลี: ทุกฺขํ) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก

ปฏิบัติเพื่อละ อย่าปฏิบัติเพื่อสะสม

จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้"ปล่อยวาง" อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้งความถูกต้องก็ทิ้ง คำว่าทิ้งหรือปล่อยวางไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติ แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ "การละ" "การปล่อย

หลวงพ่อชา สุภัทโท
 
 

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สอนตัวเองนั้นยากเพราะใกล้เลยมองไม่เห็น

"สอนคนอื่นนั้นง่ายกว่าสอนตัวเอง สอนตัวเองนั้นยากเพราะใกล้เลยมองไม่เห็น คนอื่นอยู่ไกลเลยมองเห็น ผิด ถูก ชั่ว ดี ของเขา "

- หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

เคยทุกข์แทบจะตายไหม

ทุกข์

“เคยทุกข์แทบจะตายไหม” ท่านอาจารย์ถาม
ถ้าทุกข์หรือหดหู่ ให้รู้อยู่ว่าทุกข์หรือหดหู
่ ไม่ต้องปรุงแต่ง
ให้อดทนเพ่งความทุกข์ความหดหู่ใจอยู่อย่างนั้น
...
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
ประคับประคองจิต ไม่ให้เอียงไปทางซ้าย
ไม่ให้เอียงไปทางขวา ทำใจให้เป็นกลางๆ
กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น นั่งก็รู้ เดินก็รู้
กำหนดไป กำหนดไป ก็จะรู้ชัดขึ้นๆ
จะเห็นเป็นความว่าง ต่างหาก

เห็นว่าความทุกข์ก็ดี ความหดหู่ก็ดี
เป็นสักแต่ว่าความรู้สึกเท่
านั้น
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เป็นเพียงอุปาทานเท่านั้น
อุปาทานว่าเราหดหู่ อุปาทานว่าเราทุกข์นั่นแหละ
จริงๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลงได้ และจะเปลี่ยนไปเอง
เมื่อมีอารมณ์ใหม่เข้ามาแทนที่
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=389074727787928&set=a.381640611864673.102721.158726110822792&type=1&theater#!/photo.php?fbid=449525708425246&set=a.192240754153744.51298.192238400820646&type=1&theater

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ค ว า ม รู้ ต้ อ ง คู่ คุ ณ ธ ร ร ม

 
ค ว า ม รู้ ต้ อ ง คู่ คุ ณ ธ ร ร ม
ธรรมโอสถ หลวงพ่อชา สุภทฺโท :

..ความรู้ก็เห...
มือนกับมีดเล่มหนึ่ง
เราลับมันให้คม คมมาก
แต่มีดเล่มนั้นเราเก็บเอาไว้
มีดเล่มนั้นมีทั้งคุณและโทษ

ถ้าคนมีปัญญาเอามีดเล่มนั้นไปใช้มีดก็คม
คนมีปัญญาเอาไปใช้จะทำประโยชน์ได้ดีมาก
ถ้ามีดเล่มนั้นคม

แต่คนไม่มีปัญญาใช้ก็ไปทำลายประเทศชาติ
ทำลายความสุข ทำลายความสามัคคีทุกอย่างได้ง่า
เพราะมีดมันคม

ความรู้ไปตั้งอยู่ในคนพาล
เหมือนเอาศัสตราใส่ใว้มือโจร คนร้าย
คนพาลมีความรู้เหมือนเอาอาวุธใส่มือโจร
มันยิงตะพึด ฆ่าตะพึด

ความรู้ตั้งอยู่ในใจบัณฑิต
บ้านเมืองประชาชนก็ราบรื่น

ทุกวันนี้ก็มีแต่อาศัยความรู้ บูชาความรู้
ไม่ค่อยบูชาความดีหรือความถูกต้อง
มีความรู้ก็ต้องมีความดีและมีความถูกต้องด้วย
ส่งเสริมกันมันก็จะดี

แต่นี่มีความรู้แล้วฉันใหญ่ที่สุด ใหญ่มาก
อย่างนี้ก็ฉิบหายหมดล่ะ
นั่นคือ มีความรู้แต่ไม่มีความดี..
ดูเพิ่มเติม

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู

"..ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน
ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน

...
ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู

ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่
แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น.."

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ของทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษเสมอ

ของทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษเสมอ คนโง่เท่านั้นที่จะไปเห็นมันแต่เพียงด้านเดียว ว่าเป็นคุณอย่างเดียว หรือเป็นโทษอย่างเดียว --พุทธทาสภิกขุ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของตน

“คนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของตน
มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
มีกรรมเป็นแดนเกิด
มีกรรมเป็นผู้ติดตาม
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
...
เราทำกรรมอันใดไว้
เป็นบุญหรือเป็นบาป
เมื่อยังมีชีวิตอยู่
กรรมนั้นจักเป็นทายาท
ให้เราได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆ ไป”
 
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
 

 วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

"ใจแท้ คือ ความถึงซึ่งสภาวะความเป็นกลางในสิ่งสารพัดทั้งปวง ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"

 หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี