วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทุกข์เกิดเพราะคิด



ทุกข์เกิดขึ้นกับเราทุกวันนี้ เพราะเราไม่รู้จักความคิด คิดผิด คิดถูก ก็ไม่รู้ และเมื่อคิดผิด ก็เกิดทุกข์ทันที บางครั้งก็ทุกข์เกินกว่าเหตุอีกด้วย บางครั้งเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบายกายนิดหน่อย แต่จิตใจทุกข์มาก ทุกข์กายนิดหน่อย แต่ไปเพิ่มทุกข์ใจอีก เพราะเราปล่อยความคิดของเราให้คิดไปตามกิเลส

ทุกข์เกิดเพราะคิดผิด คิดปรุงแต่งเรื่อยไปนี่เอง เห็นอะไร ได้ยินอะไร ไม่ชอบใจ ก็คิดปรุงแต่งไปจนไม่สบายใจ หรือว่าอยู่ดีๆ นึกถึง อดีต ที่เคยมีเรื่องราวไม่ถูกใจ คิดไป นึกไป ปรุงไป จนไม่สบายใจ เป็นทุกข์ บางทีเกิดอาฆาตพยาบาทก็ได้ การปรุงแต่งของจิตของเราจะมีลักษณะอย่างนี้

ความจริงเราไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่คอยสำรวมระวัง คอยสังเกตว่า เรามีความรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ให้มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกรู้อยู่ รู้สึกตัวอยู่เสมอ อันนี้ให้ถือเป็นหน้าที่ของเรา

ขอบคุณธรรมะดีดีจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kriechenbauer&group=11

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุคคลที่ควรบูชา



โลกียะ - โลกุตระ



โลกียะ = โลก และร่างกาย,ความรู้สึกต่างๆ ,เวทนา,สัญญา, ความคิดต่างๆ และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ สิ่งล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ประสบกับความทุกข์ลกิยะ ที่ใช้ในรูปของโลกีย์ ในทางโลกมักใช้หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับกามารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เช่นใช้ว่า กามโลกีย์ คาวโลกีย์โลกีย์ - โลกิยะ แปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก, เรื่องทางโลก, ธรรมดาโลก, ใช้ว่า โลกีย์ หรือ โลกิยะ ก็มี
โลกิยะ หมายถึงภาวะความเป็นไปที่ยังวนเวียนอยู่ในภพสาม คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ คือยังเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชา
โลกิยะ เป็นคำใช้คู่กับ โลกุตระ


โลกุตตระ = ทุกสิ่งทุกอย่างนอกเหนือไปจากโลกนี้ ที่จะทำให้ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
2. โลกียฌาน+วิปัสนาญาณ = โลกุตตระ
3. ญาณ-วิชชา-อภิญญา5-6 -สมาบัติ8 มาจากโลกุตตระฌาน
โลกุตระ ซึ่งแปลว่า พ้นโลก, เหนือโลก
โลกตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม ๙ ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม ๙
โลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • มรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
  • ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
  • นิพพาน ๑ คือ พระนิพพาน
โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์[1] รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ ในโลก (ดาวเคราะห์)[2]
ในทางปรัชญาโลกอาจหมายถึงเอกภพทางกายภาพทั้งหมด หรือโลกในแบบภววิทยา ในทางเทววิทยาโลกหมายถึงโลกแบบวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพที่เป็นจิตวิญญาณ อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า โลกาวินาส หมายถึงสภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนาต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบัน
ประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึงสภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์


คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมด
ส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์ แต่หมายถึงโลกที่เป็นดาวเคราะห์ (ดูที่ โลก (ดาวเคราะห์))


โลกันต์ แปลว่า ที่สุดของโลก

โลกันตร์ ตามรูปศัพท์แปลว่า อยู่ระหว่างโลก ใช้เป็นชื่อนรกซึ่งเป็นนรกพิเศษคือนรกโลกันตร์ อยู่ระหว่างภพทั้งสาม คนที่ตกนรกขุมนี้จะเป็นคนที่ทำโทษใหญ่ เช่น ทำสงฆเภท ที่บอกว่าเป็นนรกพิเศษเพราะในนรกภูมิ จะมีนรกใหญ่ ๘ ขุม ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลงไป เรียงจากสูงไปหาต่ำ คือ สัญชีพนรก กาลสูตนรก สังหากนรก โรรุพนรก ตาปนรก มหาตาปนรก มหาอวิจีนรก แต่นรกโลกันตร์นั้น ไม่ได้อยู่เรียงซ้อนกัน แต่จะตั้งอยู่ระหว่างสามภพภูมิค่ะ

คำว่าโลกันต์ ดูเฉพาะความหมายนั้น ดี แต่ในเมื่อเป็นคำพ้องเสียงกับ โลกันตร์



http://www.wikalenda.com/

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

"พ้นแล้วโว้ย โปรยยิ้มมา"



 
ภาพปริศนาธรรม ของ พระภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน

ชื่อ "พ้นแล้วโว้ย (Free is Now!)"





ท่านอาจารย์พุทธทาส ตีความหมาย ภาพปริศนาธรรมนี้ว่า

"พ้นแล้วโว้ย (Free is Now)"

บัดนี้เมฆ ลอยพ้น ยอดเจดีย์
ทั้งโรงโบสถ์ มากมี และวิหาร
เมฆรวมตัว เป็นภาพ พิสดาร
บอกอาการ "พ้นแล้วโว้ย โปรยยิ้มมา"

ตะโกนร้อง บอกสหาย สิ้นทั้งผอง
ว่าไม่ต้อง เสียเที่ยว เที่ยวค้นหา
อนันตสุข ในโลกนี้ ที่หวังมา
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าแล

สุขแท้จริง จิตไม่วิ่ง ไปตามโลก
อยู่เหนือความ ทุกข์โศก ทุกกระแส
มือเท้าเหนี่ยว เหนี่ยวขึ้นไป คล้ายตุ๊กแก
ไม่อยู่แค่ พื้นโบสถ์ โปรดคิดดู

ลอยเหนือยอด โบสถ์ไป ในเวหา
ลอยพ้นไป เหนือฟ้า ที่เทพอยู่
ถึงความว่าง ห่างพ้น จากตัวกู
ไม่มีอยู่ ไม่มีตาย สมหมายเอยฯ

ข้อมูลจาก

"ตัวกู กับ ตัวกู"


อัน "ตัวกู" "ตัวสู" มิได้มี
แต่พอโง่ มันเป็นผี โผล่มาได้
พอหายโง่ "กู" "สู" ก็หายไป
พอโง่ใหม่ โผล่ใหม่ ดูให้ดี
แต่ละข้าง ต่างยึด ว่า "ตัวกู"
จึงเกิดการ ต่อสู้ กันอย่างผี
ต่างหมายมั่น แก่กัน ฉันไพรี
ทั้งเปิดเผย ลับลี้ มีทั่วไป
ที่ด้อยกว่า สู้ว่ากู ก็มีดี
ที่เด่นกว่า ข่มขี่ เขาเข้าไว้
ที่พอกัน กันท่า ไม่ว่าใคร
ล้วนแต่ใคร่ โด่งเด่น เป็นธรรมดา
เอาพระธรรม กวาดล้าง อย่างไม้กวาด
สำหรับฟาด หัวสัตว์ ที่ข้างฝา
ตกกระเด็น เป็นเหยื่อ แก่ไก่กา
ที่เก่งกว่า คืออย่าโง่ ให้โผล่เอยฯ

ขอบคุณข้อมูลดีดีhttp://www.buddhadasa.com/shermann/shermann_photo4.html
คัดจาก วารสาร "ดอกโมกข์" รายตรีมาส ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒
 

สุขใจเมื่อไม่มีเรา














สุขใจเมื่อไม่มีเรา
บางคำจาก พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

ความเที่ยงธรรมมีเสมอ
คนที่ไปเบียดเบียนคนอื่น
ก็จะตัดโอกาสในการงอกงามของตัวเอง
การเบียดเบียนของเขา
จะไปปิดช่องในส่วนที่จะได้ของเขา
มันจะหายไป
แล้วจะถูกดึงอีกส่วนหนึ่งไปวนให้คนอื่น

ไม่มีอะไรฟรี
เสียก็ไม่เสียฟรี
ได้ก็ไม่ได้ฟรี
มันมีการชดเชยเสมอ
เพียงแต่เราจะรู้ทันมันไหม
เพราะอาจมาหรือสูญไปคนละเวลา คนละรูปแบบ
อย่าไปมองเพียงว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างที่หายไป
เมื่อไรถึงจะกลับคืนมา
เพียงแต่คิดว่าวันนี้ต้องเป็นวันดีของเรา
คิดดี ทำดี สิ่งต่างๆ