วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ว่างนี้ ไม่ได้ หมายความว่า ไม่มี อะไร

ว่างนี้ ไม่ได้ หมายความว่า ไม่มี อะไร
ให้เรากิน ไม่มีอะไร ให้ เราใช้ ไม่มีอะไร ให้

เราอยู่ ไม่มี อะไรให้เราดู ไม่ใช่ อย่างนั้น มัน

มี อะไร ให้เรากิน ให้เราเห็น ให้เราดม ให้

เราดู ให้เราใช้ ครบทุกอย่าง แต่ ไม่มี ส่วน

ไหน ที่ควร ถือว่า ตัวเรา หรือ ของเรา

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=443905

ในเมื่อ ไม่มี ตัวเรา (พุทธทาส)

ในเมื่อ ไม่มี ตัวเรา
เสียแล้ว พิจารณา ต่อไปอีก บุตร ภรรยา

สามี เพื่อน ฝูง ก็ เหมือนกัน ก็ ไม่ เป็น ของ

เรา เหมือนกัน ถึงทรัพย์สมบัติ ก็เหมือนกันอีก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=443905

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทำสิ่งใด จงทำให้เกิดมรรคผล

"วันเวลานับนิ้วคำนวณ เวลางวดเข้ามา...ชีวิตนั้นไม่ยืนยาว บำเพ็ญใจ ทำสิ่งใด จงทำให้เกิดมรรคผลที่ถูกต้อง" (เล่าจื่อ)

Tj Richy
http://www.facebook.com/home.php

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเก็บอารมณ์

" เมื่อเรามีหลักอยู่ว่า เราจะบำเพ็ญประโยชน์ให้กับคนทั่วไป คนที่มาหาเรา
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะไหนเราก็รับได้ เพราะเราตั้งใจไว้ดี แต่ถ้าหากเราเกิด
มีอารมณ์โกรธ อารมณ์ขุ่นมัวขึ้นมา เราก็พยายามเก็บมันไว้ภายในไม่ให้ใคร
รับรู้ได้ ในตอนแรก ๆ การเก็บอารมณ์นี้ มันจะกระทำได้ยากอยู่ แต่ถ้าหากทำ
เป็นประจำ จนกระทั่งเกิดเป็นความเคยชินแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็จะหายไปเอง "

--------------------------------------------------------------------------------

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เกี่ยว อุปเสโณ ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
 

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อย่าลืมเมตตาตน

‎"มีเมตตาต่อเขาผู้เป็นทุกข์ นั้นดีนัก แต่อย่าลืมเมตตาตน
ตนเองปล่อยให้ใจตัวเองเป็นทุกข์ เพราะเมตตาเขา

ไม่มีอำนาจใด จะไปสู้กับอำนาจกรรมของใครได้
เมื่อเชื่อในเรื่องอำนาจกรรมเช่นนี้...
...

ใจที่มีเมตตา ก็จะเป็นการมีเมตตาอย่างถูกต้อง อย่างมีปัญญา
ไม่พาใจตนเองไปสู่ความเร่าร้อน ด้วยเมตตาที่ไม่ถูกต้อง"

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกฯ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิเลสมันกลัวปัญญา

กิเลสไม่ได้กลัวคนอ่าน
คนนับถือศาสนา หรือ
คนเรียนตำรับตำรา

กิเลสมันกลัวปัญญา กลัวแต่คนปฏิบัติ เพื่อกำจัดมันเท่านั้น


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Anongnart Biccini ได้แบ่งปัน รูปภาพ ของ ธรรมะคือยาขนานเอก
 http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7703

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น”

บัณฑิตไม่มีความเพ่งโทษผู้อื่น บัณฑิตจะเพ่งโทษตนเอง การเพ่งโทษตนเองนั้นเป็นการฝึกตนเองอย่างหนึ่งที่จักเกิดผลจริง การเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวิสัยของผู้ไม่ใช่บัณฑิต


http://watconcord.org/index.php?option=com_content&view=article&id=230:2011-12-30-19-07-28&catid=6:2010-12-24-05-19-10&Itemid=25



บัณฑิต
ความหมาย

[บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
http://guru.sanook.com/dictionary/%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%81/


 

โลกกลียุค

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น

ไปไม่กลับ  หลับไม่ตื่น  ฟื้นไม่มี  หนีไม่พ้น   ที่ติดอยู่ที่ตาลปัตของพระ  เมื่อ

เวลาสวดพระอภิธรรมในงานศพ     เป็นคำแสดง    มรณสติ   แก่ผู้ไปฟังพระสวดพระ

อภิธรรม   คือ  ความตาย   หรือการตายของคนเราทุกคนมีลักษณะที่ว่า     บุคคลนั้น

เมื่อไปแล้วไม่กลับมาอีก     เหมือนนอนหลับแต่ไม่มีวันตื่น    คนตายแล้วย่อมไม่ฟื้น

คนที่ฟื้นแสดงว่ายังไม่ตาย   ทุกคนที่เกิดมาย่อมหนีความตายไม่พ้น  ต้องตายทุกคน

เพราะฉะนั้นอย่าประมาท    เมื่อมีมือมีเท้ามีเรี่ยวแรง  ก็ควรเจริญกุศล   ทำบุญเข้าไว้

อย่าคิดว่าจะไม่ตาย  หรืออย่าคิดว่าจะอยู่อีกนาน  ความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ก็ได้

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=2467

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โมหะที่เกาะกุมใจ

เมฆหมอกที่ปกคลุมถนนหนทางยังพอมองเห็นอย่างไม่ต้องมีเครื่องช่วย แต่โมหะที่เกาะกุมใจต้องอาศัยสติเท่านั้นไว้คอยดู
http://www.facebook.com/#!/tj.richy




โมหะ (บาลี: Moha) แปลว่า ความหลง ความเขลา ความโง่ หมายถึงความไม่รู้ตามที่เป็นจริง เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งได้แก่อวิชชา นั่นเอง

ธรรมที่อยู่กลุ่มเดียวกับโมหะมีอีก 3 อย่าง เมื่อนับรวมกับโมหะจึงเรียกว่า โมจตุกะ ได้แก่
 

  โมหะ เป็นความหลง หรือธรรมชาติที่ปิดความจริงของอารมณ์
  อหิริกะ เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายในการทำผิดทางกาย วาจา ใจ
  อโนตตัปปะ เป็นธรรมชาติที่ไม่กลัวเกรงต่อผลของ
บาป
  อุทธัจจะ เป็นความฟุ้งซ่านหรือธรรมชาติที่จับอารมณ์ไม่มั่น

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B0

ขณะนี้เรายังอยู่ในมรสุม

หากยามใดท้อถอย เหนื่อยหน่ายต่อการปฏิบัติ
ก็ให้ระลึกถึงภัยข้างหน้าที่จะมีมา
ต้องตระหนักว่าขณะนี้เรายังอยู่ในมรสุม
อยู่ท่ามกลางคลื่น ภัยนั้นมีอยู่รอบด้าน
เอาไว้ให้ถึงฝั่งเสียก่อน อย่ามัวเที่ยวเก็บ เที่ยวชมดอกไม้
...มืดค่ำแล้ว เดี๋ยวจะหาทางออกไม่พบ

- หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การทำสัตว์ตาย ก็จะขาดศีล ปาณาติบาต ข้อที่ ๑



















การทำสัตว์ตาย ก็จะขาดศีล ปาณาติบาต ข้อที่ ๑ นั้นมันต้องมีเจตนาฆ่านะ ไม่ใช่เจตนาอย่างอื่น นี่เป็นบัญญัติขึ้นว่า มีเจตนาอย่างนั้น แล้วพยายามอย่างนั้น แล้วทำจนตายนั้น ก็ขาดศีลข้อนี้โดยตรง หรือแม้แต่เป็นบางส่วนที่ร่วมมือ ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เจตนานั้นมันนึกในใจใครจะไปรู้ของใคร ฉะนั้น จึงวางไว้เป็นหลักว่า แล้วแต่เจตนา


เพชฌฆาตเขาต้องประหารชีวิตคนตามคำสั่งของศาล เพชฌฆาตคนนี้จะขาดศีลปาณาติบาตข้อหนึ่งหรือหาไม่?

แล้วแต่เจตนาของเพชฌฆาตคนนั้น ถ้าเป็นเพชฌฆาตที่ไม่ได้รับการอบรมศึกษาอะไร มันทำไปด้วยความโกรธแค้นเจตนาจะฆ่าให้ตายด้วยความโกรธแค้น หรืออะไรก็ตาม มันก็ต้องขาดศีลข้อปาณาติบาต แต่ถ้ามันเป็นเพชฌฆาตที่ได้รับการอบรมสั่งสอนดี ไม่มีเจตนาจะฆ่า มีเจตนาแต่จะปฏิบัติเพื่อความยุติธรมในโลก มันมีความบริสุทธิ์ใจอย่างนี้จริงๆ ไม่มีเจตนาฆ่า เพชฌฆาตคนนี้ไม่ขาดศีลปาณาติบาต มันต้องมีเจตนาจะฆ่า


ถ้ามีเจตนาโกรธแค้น กูจะฆ่ามึง นี่มันก็ต้องขาดศีล แต่ถ้าเจตนาตั้งไว้บริสุทธิ์ เพียงเพื่อต่อสู้ป้องกันชีวิตตนเองอย่างนี้ พระเจ้า พระสงฆ์ก็กิน แม้แต่พระอรหันต์ก็ฉันยาถ่าย ซึ่งทำให้พยาธิในท้องต้องตายไปไม่มากก็น้อย

คัดมาบางตอนจาก  http://www.buddhadasa.com/FAQ/FAQ_1.html 

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อำนาจของกรรมนั้นยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก





























สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระนิพนธ์เพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต
และพระคติธรรมเพื่อเป็นแสงส่องใจ
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 16849 โดย: ออสติน 30 ก.ย. 48

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สอนให้รู้จักกฎแห่งเหตุผล

 กฎแห่งเหตุผล สอนว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีเหตุปัจจัย เป็นไป ตามเหตุปัจจัย มีกฎในตัวของมันเอง เรียกว่า กฎของธรรมชาติ หรือ กฎแห่งกรรม สอนให้เชื่อ ในกฎแห่งกรรม ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำชั่วก็ได้ชั่ว เพราะพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีเหตุผล จึงสอนว่า ทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ควรเชื่องมงาย

-ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.ipesp.ac.th/learning/panomprai/html/n4-2.html

บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย

เทวดากล่าวว่า "คนมีบุตร ย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย"
พระพุทธองค์ตรัสแก้ว่า "บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย"

อรรถกถานันทิสูตร



















 
 

สอนให้ช่วยตนเอง

ไม่ให้หวังพึ่งเทวดา โชคชะตา หรือแม้แต่พระเป็นเจ้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เนื่องจากคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเครื่อง ชี้ทาง เท่านั้น แต่การกระทำ เป็นสิ่งที่ผู้ต้องการพ้นทุกข์ทั้งหลาย จะต้องทำเอง ดังนั้น พุทธศาสนา จึงมุ่งสอนให้ ทุกคนช่วยตนเอง




http://www.ipesp.ac.th/learning/panomprai/html/n4-2.html

เดินสายกลาง

สอนให้เดินสายกลาง
คือ อย่าให้ตึง อย่าให้หย่อน อย่าให้ซ้ายจัดหรือขวาจัด

http://www.ipesp.ac.th/learning/panomprai/html/n4-2.html

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โอวาทธนัญชัยเศรษฐี ๑๐ ประการ

โอวาทธนัญชัยเศรษฐี ๑๐ ประการ
(จาก ธรรมบท ภาค ๓)
โอวาทของธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้แก่นางวิสาขาก่อนออกเรือน
ถือว่าเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป

๑. อนฺโต อคฺคิ พหิ น นีหริตพฺโพ
ไฟในอย่านำออก หมายถึงไม่ควรนำความลับหรือเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัว ไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้
๒. พหิ อคฺคิ อนฺโต น นีหริตพฺโต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึงไม่ควรนำคำนินทาว่าร้ายเสียดสีด้วยความอิจฉาริษยา จากบุคคลภายนอกมาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง
๓. ททนฺตสฺเสว ทาตพฺพํ
พึงให้แก่คนที่ให้ หมายถึงคนที่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อควรมีน้ำใจไมตรีตอบแทน เมื่อมีผู้มาหยิบยืมข้าวของเงินทอง ควรให้แก่คนที่นำมาคืนเท่านั้น
๔. อทนฺทตฺส น ทาตพฺพํ
พึงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึงคนที่ไม่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อมีน้ำใจก็ไม่ควรทำใจกว้างหรือทำหน้าใหญ่ใจโต ผู้ที่เคยหยิบยืมแล้วไม่นำมาคืน คราวต่อไปหากยังกล้ามาหยิบยืมอีก ไม่ควรให้
๕. ททนฺตสฺสาปิ อทนฺตสฺสาปิ ทาตพฺพํ
พึงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึงการสงเคราะห์ญาติและมิตรสหาย แม้เขาจะนำมาคืนหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นว่าเป็นการสมควร หรือเขาเป็นคนดีควรแก่การเกื้อหนุนอนุเคราะห์ก็ควรให้
๖. สุขํ นิสีทิตพฺพํ
พึงนั่งให้เป็นสุข หมายถึงการนั่งในที่อันเหมาะอันควร ไม่เกะกะขวางทาง ไม่ต้องคอยลุกหลีกเมื่อพ่อสามีแม่สามีหรือผู้ใหญ่เดินผ่าน และนั่งเมื่อจัดการงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
๗. สุขํ ภุญฺชิตพฺพํ
พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึงควรนอนทีหลังพ่อสามีแม่สามี และสามีได้เข้านอนแล้ว คือต้องตรวจดูข้าวของกลอนประตูหน้าต่างและฟืนไฟให้เป็นที่เรียบร้อย ทั้งจัดแจงข้าวของที่จำเป็นสำหรับหุงหาหรือใช้สอยในวันรุ่งขึ้นให้พร้อมมูลครบครัน จึงจะถือได้ว่าเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี
๘. สุขํ นิปชฺชิตพฺพํ
พึงกินให้เป็นสุข หมายถึงควรจัดข้าวปลาอาหารสำหรับพ่อสามีแม่สามีรวมทั้งสามีและบุตรให้เป็นที่เรียบร้อย
๙. อคฺคิ ปริจริตพฺโพ
พึงบูชาไฟ หมายถึงการให้ความเคารพยำเกรงสามีและบิดามารดาของสามีตลอดจนญาติผู้ใหญ่
๑๐. อนฺโต เทวตา นมสฺสิตพฺพา
พึงบูชาเทวดา หมายถึงให้นับถือบิดามารดาสามีและบรรพบุรุษ
http://www.mongkoltemple.com/page02/daily012.html
 

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เพียงพอสำหรับคนทุกคน

"ทรัพยากรบนโลกใบนี้มีเพียงพอสำหรับคนทุกคน แต่มีไม่เพียงพอสำหรับคนโลภแม้เพียงคนเดียว"

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กามตัณหา


กามตัณหาเปรียบเหมือนแม่น้ำไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที
ความอยากของตัณหามันไม่พอ . . . ต้องทำความพอจึงจะดี
ตัดอดีต . . . อนาคต ลงให้หมด
จิตดิ่งในปัจจุบัน . . .ละในปัจจุบัน
ทำในปัจจุบัน . . . แจ้งในปัจจุบัน
...
กามนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดี ชิงเด่น
กิเลสตัวเดียว ทำให้เกิดการต่อสู้ แย่งชิงกัน
ความรัก ความชัง จะบังเกิดขึ้นในจิตใจ ก็เพราะกาม

 หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความดีใจเสียใจเป็นมารร้าย



เพียรให้มีสติไว้เสมอ ไม่เผลอ
นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย
ดีใจเสียใจแลบเข้าไปแล้วเป็นขุ่
นมัวทีเดียว
...
เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี้ร้ายนัก
ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาฏิบัติธรรม เห็นธรรมอย่างนี้น่ะ

ถึงเวลาเราดี ๆ อยู่
อ้ายความดีใจเสียใจนี้แหละที่ทำให้ต้องกระโดดน้ำตาย กินยาตาย ผูกคอตาย
ดีใจเสียใจนี้แหละมันเต็มขีด เต็มส่วนของมันบังคับอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ความดีใจเสียใจ เป็นมารร้ายทีเดียว ฯ

หลวงปู่วัดปากน้ำ สด จันทสโร

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิสัยแห่งปุถุชน

น้ำจำเป็นต่อหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้จึงผลิตผลได้ วิสัยแห่งปุถุชนอาศัยกามคุณกิเลสจึงบรรเจิดตัณหาจึงผลิบาน ดอกผลคืออุปาทาน

http://www.facebook.com/#!/

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำจิต สงบเย็นเหมือนสายน้ำที่ใสเย็น

สะอาด สว่าง สงบ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ทำจิต สงบเย็นเหมือนสายน้ำที่ใสเย็น ไม่มีสิ่งใดทำให้เราหวั่นไหว กระทบหายๆๆๆเหลือไว้แต่ความเย็นสบาย
ทำใจให้เมตตา คนเราเกิดก็ตายกันหมด ขอสร้าง...ทุกอย่างที่เป็นบุญ...ทั้งกายและใจ
ทำใจให้เข้มแข็งเหมือนหินผา ไม่รู้สึกต่อความไม่สบายใจที่มากระทบ มันทำอะไรเราไม่ได้
สุดท้าย เกิดมาในชีวิตนี้ขอมีโอกาสเป็นผู้ให้...ให้ความสุข ให้ความรัก ให้ความรู้สึกที่ดีกับทุกคน แม้กระทั่งสัตว์เล็กสัตว์น้อย
ไม่ขอทำให้เขาเดือดร้อน กำลังพยายามทำให้มากที่สุด เพื่อเกรดของบุญในชีวิตนี้จะได้คะแนนชีวิตที่ดีๆ เป็นการสะสมไว้ภพใหม่ภพสุคต
คัดลอกจาก หนังสือ โอวาทอริยะ เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร


http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=226353377475085&set=a.223353174441772.45305.222085381235218&type=1&theater

ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่

ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล
ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน
แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ ฯ

...
เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า
ใยมัวเมา โลภลาภ ทำบาปใหญ่
มามือเปล่า แล้วจะ เอาอะไร
เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา ฯ

ควรเร่งสร้าง กรรมดี หนีกรรมชั่ว
ไม่พาตัว พาใจ ใฝ่ตัณหา
หมั่นเจริญศีล สมาธิ และปัญญา
จึงจะพา ให้พ้นทุกข์ สุขนิรันดร์ ฯ

กลอนสอนธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

วิญญาณในขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต



วิญญาณในขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต
ธรรมโอวาท หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

สักกายทิฎฐิ เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา ท่านละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้ " โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียง
แต่ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัย
ของนามธรรม คือ
เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ คืออารมณ์
วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์
สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว
สังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานีสดชื่น
อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดีและอารมณ์ที่เป็นอกุศล
คือความชั่วที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาป
ที่คอยเข้าควบคุมใจ
วิญญาณ คือ ความรู้ หนาว ร้อน หิวกระหาย เผ็ดเปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น
วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต วิญญาณกับจิตนี้
คนละอันแต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไปเขียนเป็นอันเดียวกัน
ทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย
อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาอาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย
สิ่งนั้นก็คือจิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้
ตายร่วมกับร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วย
แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว
เมื่อกายตั้งอยู่ คือดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ แต่ถ้าขันธ์ ๕
มีร่างกายเป็นประธานตายแล้วจิตก็ท่องเที่ยวไป
แสวงหาที่อาศัยใหม่
คำว่าเราในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามาอาศัยกา
เมื่อท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า
ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา
เราไม่มีในกายกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย
คือ ขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไป
ถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ ไม่เสียดายห่วงใย
ในขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดา




วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

บาปใหญ่-บาปลึก? (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

บาปใหญ่-บาปลึก? (ท่านพุทธทาสภิกขุ) 

คิดว่าดี กว่าเขา ซิเราแย่
มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่บาปใหญ่
ส่วนตัวเอง บาปลึก นึกให้ไกล
มันบาปเบา อยู่เมื่อไร ให้นึกดู


เขาติดซ้าย, เราติดขวา, ถ้ามานึก
มันยังติด เหลือลึก กันทั้งคู่
แม้ติดซ้าย เลวกว่า ไม่น่าดู
แต่ติดขวา มันก็หรู อยู่เมื่อไร


มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่ยังเลว
ส่วนตัวเอง ก็ยังเหลว ไม่ไปไหน
เฝ้าเกลียดซ้าย รักขวา เป็นบ้าใจ
มันก็ไล่ พลัดห่าง ทางนิพพานฯ



http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=21198

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้

ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างใดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ธรรมที่ลึกลับ ไม่ควรพูดให้คนอื่นรู้

ธรรมที่ลึกลับ ไม่ควรพูดให้คนอื่นรู้ เพราะคนอื่นไม่เห็นตามธรรมจะเสีย ต้องพูดต่อผู้ปฏิบัติเหมือนกัน

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำทานแล้วต้องรักษาศีลด้วย

"ทำทานแล้วต้องรักษาศีลด้วย
เหมือนเอาถ้วยชามมาใส่ของ
ใส่อย่างเดียว ไม่ล้างถ้วยล้างชาม ก็ไม่น่าใช้"

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นี่แหล่ะบุญ

"บุญเป็นอย่างนี้ ลักษณะของบุญคือใจเราดี,มีความสุข, มีความสบาย เย็นอกเย็นใจ, ไม่ทุกข์ไม่ร้อน วุ่นวาย นี่แหล่ะบุญ มีหรือยัง" หลวงปู่ฝั้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คืออะไร

เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา


"ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวท
ุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์นี่แหละจะทำให้เราฉลาด
ขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท

กิเลสสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้
ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับ...
ทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้อ
งรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คือ
อะไร
http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=345726152179431&set=a.117458295006219.29726.100002261469079&type=1&theater

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (บาลี: ทุกฺขํ) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก

ปฏิบัติเพื่อละ อย่าปฏิบัติเพื่อสะสม

จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้"ปล่อยวาง" อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้งความถูกต้องก็ทิ้ง คำว่าทิ้งหรือปล่อยวางไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติ แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ "การละ" "การปล่อย

หลวงพ่อชา สุภัทโท
 
 

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สอนตัวเองนั้นยากเพราะใกล้เลยมองไม่เห็น

"สอนคนอื่นนั้นง่ายกว่าสอนตัวเอง สอนตัวเองนั้นยากเพราะใกล้เลยมองไม่เห็น คนอื่นอยู่ไกลเลยมองเห็น ผิด ถูก ชั่ว ดี ของเขา "

- หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

เคยทุกข์แทบจะตายไหม

ทุกข์

“เคยทุกข์แทบจะตายไหม” ท่านอาจารย์ถาม
ถ้าทุกข์หรือหดหู่ ให้รู้อยู่ว่าทุกข์หรือหดหู
่ ไม่ต้องปรุงแต่ง
ให้อดทนเพ่งความทุกข์ความหดหู่ใจอยู่อย่างนั้น
...
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
ประคับประคองจิต ไม่ให้เอียงไปทางซ้าย
ไม่ให้เอียงไปทางขวา ทำใจให้เป็นกลางๆ
กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น นั่งก็รู้ เดินก็รู้
กำหนดไป กำหนดไป ก็จะรู้ชัดขึ้นๆ
จะเห็นเป็นความว่าง ต่างหาก

เห็นว่าความทุกข์ก็ดี ความหดหู่ก็ดี
เป็นสักแต่ว่าความรู้สึกเท่
านั้น
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เป็นเพียงอุปาทานเท่านั้น
อุปาทานว่าเราหดหู่ อุปาทานว่าเราทุกข์นั่นแหละ
จริงๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลงได้ และจะเปลี่ยนไปเอง
เมื่อมีอารมณ์ใหม่เข้ามาแทนที่
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=389074727787928&set=a.381640611864673.102721.158726110822792&type=1&theater#!/photo.php?fbid=449525708425246&set=a.192240754153744.51298.192238400820646&type=1&theater

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ค ว า ม รู้ ต้ อ ง คู่ คุ ณ ธ ร ร ม

 
ค ว า ม รู้ ต้ อ ง คู่ คุ ณ ธ ร ร ม
ธรรมโอสถ หลวงพ่อชา สุภทฺโท :

..ความรู้ก็เห...
มือนกับมีดเล่มหนึ่ง
เราลับมันให้คม คมมาก
แต่มีดเล่มนั้นเราเก็บเอาไว้
มีดเล่มนั้นมีทั้งคุณและโทษ

ถ้าคนมีปัญญาเอามีดเล่มนั้นไปใช้มีดก็คม
คนมีปัญญาเอาไปใช้จะทำประโยชน์ได้ดีมาก
ถ้ามีดเล่มนั้นคม

แต่คนไม่มีปัญญาใช้ก็ไปทำลายประเทศชาติ
ทำลายความสุข ทำลายความสามัคคีทุกอย่างได้ง่า
เพราะมีดมันคม

ความรู้ไปตั้งอยู่ในคนพาล
เหมือนเอาศัสตราใส่ใว้มือโจร คนร้าย
คนพาลมีความรู้เหมือนเอาอาวุธใส่มือโจร
มันยิงตะพึด ฆ่าตะพึด

ความรู้ตั้งอยู่ในใจบัณฑิต
บ้านเมืองประชาชนก็ราบรื่น

ทุกวันนี้ก็มีแต่อาศัยความรู้ บูชาความรู้
ไม่ค่อยบูชาความดีหรือความถูกต้อง
มีความรู้ก็ต้องมีความดีและมีความถูกต้องด้วย
ส่งเสริมกันมันก็จะดี

แต่นี่มีความรู้แล้วฉันใหญ่ที่สุด ใหญ่มาก
อย่างนี้ก็ฉิบหายหมดล่ะ
นั่นคือ มีความรู้แต่ไม่มีความดี..
ดูเพิ่มเติม

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู

"..ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน
ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน

...
ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู

ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่
แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น.."

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ของทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษเสมอ

ของทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษเสมอ คนโง่เท่านั้นที่จะไปเห็นมันแต่เพียงด้านเดียว ว่าเป็นคุณอย่างเดียว หรือเป็นโทษอย่างเดียว --พุทธทาสภิกขุ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของตน

“คนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของตน
มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
มีกรรมเป็นแดนเกิด
มีกรรมเป็นผู้ติดตาม
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
...
เราทำกรรมอันใดไว้
เป็นบุญหรือเป็นบาป
เมื่อยังมีชีวิตอยู่
กรรมนั้นจักเป็นทายาท
ให้เราได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆ ไป”
 
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
 

 วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

"ใจแท้ คือ ความถึงซึ่งสภาวะความเป็นกลางในสิ่งสารพัดทั้งปวง ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"

 หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

องค์พระธรรม

พระคัมภีร์ ยังมิใช่ องค์พระธรรม มีไว้เพียง อ่านจำ เมื่อศึกษา ครั้นนานเข้า คัดลอก กันสืบมา เพียงแต่เขียน อักขรา ให้คล้ายกัน คัดพลาง ฉงนพลาง ช่างอึดอัด ตัวไม่ชัด เดาไป คล้ายในฝัน ยิ่งเป็นปราชญ์ ยิ่งแก้ไป ได้ไกลครัน ยิ่งแก้มัน ก็ยิ่งเลอะ ไม่เจอะจริง ส่วนพระธรรม ล้ำเลิศ ประเสริฐแท้ ไม่มีใคร อาจแก้ ให้ยุ่งขิง ธรรมของใคร ใครเห็น ตามเป็นจริง มิใช่สิ่ง คัดลอก หรือบอกกัน ทั้งมิอาจ ถ่ายทอด วิธีใด มีแต่การ จัดใจ ให้สบสันติ์ ไม่มีทาง ซื้อขาย หรือให้ปัน หรือลอกกัน ให้เลอะไป ไม่หยุดเอยฯ ร้อยกรองโดยท่านพุทธทาสภิกขุ From : ณธีร์ - 10/09/2001 10:53 Homepage : http://www.tourthai.com/gallery/ancient/pic07877.shtml http://board.dserver.org/n/natshen/00000010.html

เปิด เปิด ตา ให้รับแสง แห่งพระธรรม (พุทธทาสภิกขุ)

เปิด เปิด ตา ให้รับแสง แห่งพระธรรม
ยิ่งมืดค่ำ ยิ่งเห็นชัด ถนัดถนี่
สมาธิมาก ยิ่งเห็นชัด ถนัดดี
นี่วิธี เปิดตาใจ ใช้กันมา

เปิด เปิด หู ให้ยินเสียง สำเนียงธรรม
ทั้งเช้าค่ำ มีก้องไป ในโลกหล้า
ล้านล้านปี ฟังให้ชัด เต็มอัตรา
คือเสียงแห่ง สุญญตา ค่าสุดใจ

เปิด เปิด ปาก สนทนา พูดจาธรรม
วันยังค่ำ อย่าพูด เรื่องเหลวไหล
พูดแต่เรื่อง ดับทุกข์ได้ โดยสัจจนัย
ไม่เท่าไร เราทั้งโลก พ้นโศกแล ฯ

ร้อยกรองโดย

ท่านพุทธทาสอินทปัญโญภิกขุ


From : ณธีร์ - 10/09/2001 10:41
Homepage :
http://www.tourthai.com/gallery/ancient/pic08291.shtml

ยอดพุทธมนต์

มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป
นี่เป็นมนต์บทใหญ่ใช้เมื่อได้
ซึ้งลาภยศสรรเสริญสุขใจกาย
ไม่เมามายลืมตัวหรืองัวเงีย

มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป
ก็เป็นมนต์บทใหญ่ใช้เมื่อเสีย
ซึ้งลาภยศสรรเสริญสุขแม้ลูกเมีย
ไม่อ่อนเปลี้ยสับสนหรือวุ่นวาย

มันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป
ใช้เป็นมนต์บทใหญ่ครั้งสุดท้าย
เป็นอาวุธสัประยุทธ์กับความตาย
แสนสบายเพราะก้าวล่วงจากบ่วงมาร ฯ

ยอดพุทธมนต์ : พุทธทาสภิกขุ

Subject : ธรรมะคือคุณากร
From : ณธีร์ - 10/09/2001 10:18
Homepage :
http://board.dserver.org/n/natshen/

คนหลงอารมณ์














คนหลงโลก..คือ..คนหลงอารมณ์!
คนหลงอารมณ์..คือ..คนหลงโลก.._/l\_

(หลวงพ่อชา)

อารมณ์ แปลว่า สิ่งหน่วงเหนี่ยวจิต, สิ่งที่ยึดดึงจิตไว้ โดยทั่วไป หมายถึงความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจที่แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปแต่ละช่วงเวลา เช่นที่ใช้ว่า อารมณ์ดี อารมณ์เย็น ไม่มีอารมณ์ เป็นต้น
ในทางพุทธศาสนา อารมณ์หมายถึงสิ่งที่จิตไปเกาะเกี่ยวอยู่แล้วยึดจิตไว้ มี 6 อย่าง คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรม มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์



ความอดทนนั้นสูงสุด



บุคคลอดทนต่อคําของผู้สูงกว่าได้ เพราะความกลัว
อดทนต่อถ้อยคําของผู้เสมอกันได้ เพราะเหตุแห่งความดี
ส่วนผู้ใดในโลกนี้ อดทนต่อ คําขอของคนเลวกว่าได้
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า ความอดทนนั้นสูงสุด

คติธรรมนำชีวิต@fb

คนเรานั้นถ้าจะเป็นคนดี





















“คนเรานั้นถ้าจะเป็นคนดี
ต้องหัดมีความเมตตาเป็นหลัก
มีความกรุณาเป็นสรณะ
มีความอภัยเป็นจิตใจ
เพราะจิตใจถ้ามีอภัยต่อกันและกันแล้ว
จิตใจนั้นเป็นจิตที่มีความสุขอย่างยิ่ง
... เพราะเราอยู่อย่างไม่มีความอาฆาต
อยู่อย่างมีความเมตตา
อารมณ์แห่งความเมตตาของจิตนั้นแหละ
จะทำให้อารมณ์ของเราเกิดปิติอย่างดีตลอดเวลา”





หลวงปู่ทวด
วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี


คติธรรมนำชีวิต

http://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95/134842136544360

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ในดีมีเสีย ในเสียมีดี


ไม่มีอะไรเลวร้ายไปเสียหมด
"ในดีมีเสีย ในเสียมีดี"
ไม่ว่ารอบตัวเราจะแย่อย่างไร
ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์เลวร้าย
เกิดขึ้นกับเราอย่างไร
...
เราเลือกที่จะไม่ทุกข์ได้ "ด้วยการมองให้เป็น"

(พระไพศาล วิสาโล)

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใจที่มีทิศทาง....ใจที่เข้มแข็ง



ในยามที่เราเข้มแข็ง เราไม่รู้หรอกว่า....
ยามที่เราอ่อนแอ...มันต่างกันอย
่างไร?
ทุกคนต้องมีช่วงเวลานั้น....แต่ไม่รู้วันไหน....เวลาใด

คำสอนคุณยาย เปรียบเสมือน...
... แสงไฟส่องทางในยามมืด
เสียงบทสนทนาในยามไร้เพื่อน
ลังใจอันยิ่งใหญ่ ในยามที่ท้อแท้

เมื่ออ่านและปฏิบัติตาม "คำสอนของคุณยาย" แล้ว
จะรู้ว่า....ใจที่มีจุดมุ่งหมาย
ใจที่มีทิศทาง....ใจที่เข้มแข็ง
คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ในยามที่ต้องดูแลตัวเอง.....

คำสอนคุณยาย
Won Redได้โพสต์ไปยังสุนทรธรรม นำชีวิต พิชิตมาร

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทรัพย์ภายในคือศีลธรรม

"ทรัพย์ภายนอกนั้นอาศัยชั่วกาลเวลา
ทรัพย์ภายในคือศีลธรรมนี้อาศัยตลอดไป"


หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
Dharma@Hand Lite ธรรมะใสใส ใกล้ตัวคุณ

ผู้รู้จะเห็นการเกิดดับของตัณหาได้




ทโธ ผู้รู้ ไม่ได้เห็นอารมณ์ แต่อยู่กับรู้ ตัณหา ความอยากได้ อยากมีอยากเป็น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ผู้รู้จะเห็นการเกิดดับของตัณหาได้ ตัณหาเห็นตัณหาไม่ได้ - หลวงพ่อชา


Tj Richy

คนชอบนินทาคือคนที่ชอบกินของเน่า




คนชอบนินทาคือคนที่ชอบกินของเน่า ถ้าเราร่วมผสมโรงไปกับเขา แสดงว่าเราเองก็ชอบกินของเน่าไม่เบาเหมือนกัน ~พุทธทาส

Tj Richy

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศีลธรรมเอ๋ย

มีทุกข์จึงถึงศาสนา

รู้เท่าเสียครึ่งรู้ไม่ถึงเสียหมด

ช่างปะไร

ฉลาดอย่างไม่ซื่อ ซื่ออย่างไม่ฉลาด



ฉลาดอย่างไม่ซื่อ ก็ คือฉลาดไปเข้าคุก เข้าตะราง สุดปลายทางก็คือ…..นรก ถ้าซื่ออย่างไม่ฉลาด ก็คือ เซ่อ เหมือนคนละเมอเดินไปตกบันได…ตาย
ผู้กินอยู่เกินพอดี จงเตรียมตัวไว้ให้เต็มที่ เพื่อพบกับความไม่มีอะไรจะกิน…


พุทธทาสภิกขุ
สำนักสวนโมกขพลาราม
อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

"ถ้าใครหลงครูหลงตำรา จิตใจไม่มีทางสงบ ไม่มีทางพ้นทุกข์

" ถ้าใครหลงครูหลงตำรา จิตใจไม่มีทางสงบ ไม่มีทางพ้นทุกข์
แต่เราจะทำให้จิตสงบ หรือพ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยครู อาศัยตำรา "


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม สุรินทร์


โพธิสัตว์



พูดมาก เสียมาก
พูดน้อย เสียน้อย
ไม่พูด ไม่เสีย
นิ่งเสีย โพธิสัตว์


หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)



ลูกหมาไม่เคยทำให้พ่อแม่น้ำตาตก

ลูกหมาไม่มีโอกาสตอบแทนคุณพ่อแม่
แต่ลูกหมาไม่เคยทำให้พ่อแม่น้ำตาตก



พุทธทาสภิกขุ..

คนฉลาดอยู่แต่ที่เก่า ไม่เท่าคนโง่ที่เดินทาง

คนหล๊วกอยู่ตี้เก่า บ่าเต้าคนง่าวตี้เตียวตาง
(คนฉลาดอยู่แต่ที่เก่า ไม่เท่าคนโง่ที่เดินทาง)

หลวงปู่หล้า ตาทิพย์
วัดป่าตึง

มนุษย์มีธรรมในตัวทุกคน

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทุกข์เกิดเพราะคิด



ทุกข์เกิดขึ้นกับเราทุกวันนี้ เพราะเราไม่รู้จักความคิด คิดผิด คิดถูก ก็ไม่รู้ และเมื่อคิดผิด ก็เกิดทุกข์ทันที บางครั้งก็ทุกข์เกินกว่าเหตุอีกด้วย บางครั้งเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบายกายนิดหน่อย แต่จิตใจทุกข์มาก ทุกข์กายนิดหน่อย แต่ไปเพิ่มทุกข์ใจอีก เพราะเราปล่อยความคิดของเราให้คิดไปตามกิเลส

ทุกข์เกิดเพราะคิดผิด คิดปรุงแต่งเรื่อยไปนี่เอง เห็นอะไร ได้ยินอะไร ไม่ชอบใจ ก็คิดปรุงแต่งไปจนไม่สบายใจ หรือว่าอยู่ดีๆ นึกถึง อดีต ที่เคยมีเรื่องราวไม่ถูกใจ คิดไป นึกไป ปรุงไป จนไม่สบายใจ เป็นทุกข์ บางทีเกิดอาฆาตพยาบาทก็ได้ การปรุงแต่งของจิตของเราจะมีลักษณะอย่างนี้

ความจริงเราไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่คอยสำรวมระวัง คอยสังเกตว่า เรามีความรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ให้มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกรู้อยู่ รู้สึกตัวอยู่เสมอ อันนี้ให้ถือเป็นหน้าที่ของเรา

ขอบคุณธรรมะดีดีจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kriechenbauer&group=11

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุคคลที่ควรบูชา



โลกียะ - โลกุตระ



โลกียะ = โลก และร่างกาย,ความรู้สึกต่างๆ ,เวทนา,สัญญา, ความคิดต่างๆ และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ สิ่งล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ประสบกับความทุกข์ลกิยะ ที่ใช้ในรูปของโลกีย์ ในทางโลกมักใช้หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับกามารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เช่นใช้ว่า กามโลกีย์ คาวโลกีย์โลกีย์ - โลกิยะ แปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก, เรื่องทางโลก, ธรรมดาโลก, ใช้ว่า โลกีย์ หรือ โลกิยะ ก็มี
โลกิยะ หมายถึงภาวะความเป็นไปที่ยังวนเวียนอยู่ในภพสาม คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ คือยังเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชา
โลกิยะ เป็นคำใช้คู่กับ โลกุตระ


โลกุตตระ = ทุกสิ่งทุกอย่างนอกเหนือไปจากโลกนี้ ที่จะทำให้ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
2. โลกียฌาน+วิปัสนาญาณ = โลกุตตระ
3. ญาณ-วิชชา-อภิญญา5-6 -สมาบัติ8 มาจากโลกุตตระฌาน
โลกุตระ ซึ่งแปลว่า พ้นโลก, เหนือโลก
โลกตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม ๙ ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม ๙
โลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • มรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
  • ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
  • นิพพาน ๑ คือ พระนิพพาน
โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์[1] รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ ในโลก (ดาวเคราะห์)[2]
ในทางปรัชญาโลกอาจหมายถึงเอกภพทางกายภาพทั้งหมด หรือโลกในแบบภววิทยา ในทางเทววิทยาโลกหมายถึงโลกแบบวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพที่เป็นจิตวิญญาณ อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า โลกาวินาส หมายถึงสภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนาต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบัน
ประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึงสภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์


คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมด
ส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์ แต่หมายถึงโลกที่เป็นดาวเคราะห์ (ดูที่ โลก (ดาวเคราะห์))


โลกันต์ แปลว่า ที่สุดของโลก

โลกันตร์ ตามรูปศัพท์แปลว่า อยู่ระหว่างโลก ใช้เป็นชื่อนรกซึ่งเป็นนรกพิเศษคือนรกโลกันตร์ อยู่ระหว่างภพทั้งสาม คนที่ตกนรกขุมนี้จะเป็นคนที่ทำโทษใหญ่ เช่น ทำสงฆเภท ที่บอกว่าเป็นนรกพิเศษเพราะในนรกภูมิ จะมีนรกใหญ่ ๘ ขุม ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลงไป เรียงจากสูงไปหาต่ำ คือ สัญชีพนรก กาลสูตนรก สังหากนรก โรรุพนรก ตาปนรก มหาตาปนรก มหาอวิจีนรก แต่นรกโลกันตร์นั้น ไม่ได้อยู่เรียงซ้อนกัน แต่จะตั้งอยู่ระหว่างสามภพภูมิค่ะ

คำว่าโลกันต์ ดูเฉพาะความหมายนั้น ดี แต่ในเมื่อเป็นคำพ้องเสียงกับ โลกันตร์



http://www.wikalenda.com/